ข้อสังเกตในตำรากบิลว่าน (ทริคเดียวหากินได้ตลอดชาติ)

ทุกชาติในโลกมีความเชื่อเรื่องคุณวิเศษของต้นไม้(ในทางไสยศาสตร์) ประเทศไทยเรามีความเชื่อนี้ที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อยสองชุดคือ ๑.ตำรากบิลว่าน ๒.ตำราพฤกษาวิเศษ ซึ่งกลายเป็นแนวคิดหลักในการเล่นว่าน และองค์ความรู้นี้กลายเป็นเรื่องคติชน คติชน ต่างจากความเชื่อส่วนบุคคล ตรงมีระบบความเชื่อ และระบบความคิดรองรับ มีกลุ่มชนจำนวนหนึ่งยอมรับคตินี้ ดังนั้นเรื่องว่านจึงมีความคิดพื้นฐาน และกระบวนวิธีในการศึกษาและสร้างสมองค์ความรู้ในแบบของตน ข้าฯจึงได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับตำรากบิลว่านไว้ เพื่อให้ผู้ศึกษา… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านแท้-ว่านปลอม และว่านนอกกบิลว่าน (ตอนที่ ๒)

๔.เช็คจากตำราว่านใหม่ที่ได้มาตรฐาน หลายท่านที่มัวแต่ติดตำราว่านเก่า ก็จะไม่สามารถข้ามกำแพงขององค์ความรู้ด้านว่านพื้นฐานไปสู่องค์ความรู้ขั้นสูงได้ จริงอยู่การจะเล่นหาหรือเรียนรู้อะไรต้องมีหลักมีแก่น มีแกนยึด แต่มิใช่ยึดจนเกินพอดี!!! การยึดถือตำราเก่าที่ไม่มีภาพมากเกินไปก็จะทำให้องค์ความรู้ของเราไม่แตกฉานเพราะเป็นแก้วน้ำที่เต็มแล้วหรือขวดน้ำที่ปิดฝาขวดอยู่ ย่อมไม่สามารถเติมอะไรเข้าไปได้อีก ความแตกต่างของเซียนว่าน กับอาจารย์ว่านคือ เซียนว่านเล่นว่านแต่ตามตำรา แต่อาจารย์ว่านกล้าที่จะตั้งคำถามและเล่น… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านแท้-ว่านปลอม และว่านนอกกบิลว่าน (ตอนที่ ๑)

ในการเล่นว่านนั้นสิ่งที่มักจะได้ยินอยู่เสมอๆเมื่อทำการเล่นว่านได้สักระยะหนึ่งแล้ว นั่นคือคำกล่าวถึงว่า “ว่านตัวนี้เป็นว่านแท้ อันนี้ไม่ใช่นะ ว่านตัวนี้ไม่เคยได้ยิน ว่านมั่วหรือเปล่า? หรือว่านกูตั้งเองหรือเปล่า?” ว่านนั้นต่างจากเรื่องนก หรือแม้แต่พืชอื่นๆ เช่น ไม้นอก หากเป็นเรื่องนกนั้นเมื่อมีการสำรวจแล้ว พบสายพันธ์นกที่แตกต่างกันไป หากไม่มีใครเรียกมาก่อนผู้ค้นพบก็จะสามารถตั้งชื่อเรียกเองได้ อย่างเช่น “นกโกโรโกโส” ที่ตั้งเช่นนี้เพราะนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล  พร้อมคณะที่ช่วยเก็บตัวอย่างสัตว์และสตั๊ฟ… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

กำเนิด “หว้าน” และประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงว่านในประเทศไทย (ตอนที่๑)

“หว้าน” (ว่าน) เป็นเรื่องของพืชมงคลชั้นพิเศษที่มากด้วยคุณค่าตามความเชื่อถือของชาวสยาม (สมุนไพรใช้ง่าย สรรพคุณทางยาเด่นกว่าต้นใดๆ สรรพคุณทางไสยก็โดดเด่น เลยตั้งนามนำหน้า “หว้าน” หรือ “ว่าน” คล้ายๆ นาย–>นายพล ซึ่งในทางสมุนไพรยังมีอีกคำคือ “ปู่เจ้า”…) ตลอดจนชนที่อาศัยอยู่ในเขตดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิหรือแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์แห่งนี้ โดยว่านเป็นมรดกทางความเชื่อที่พบอยู่ในภูมิภาคในแถบเอเชียอาคเนย์ ทั้งทางประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา ตลอดจนชนกลุ่มน้… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

หลักการวินิจฉัยชี้ขาดว่าน (Identification for Wan) ตอนที่ ๒ (ตอนจบ)

ต่อจากตอนที่แล้ว  ตอนก่อนหน้า คลิก ข้อจำกัดทางด้านประสาทสัมผัส : การชี้ขาดชนิดของว่าน(identification)นั้น หากจะให้แม่นยำจริงๆ จำต้องอาศัยสัมผัสต่างๆอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ตา จมูก ลิ้น การสัมผัสทางกาย และ..ใจ !! ครับ ตา เพื่อแยกแยะสีและลักษณะที่เป็นจุดเด่นของว่านแต่ละตัว ดังนั้นรูปถ่ายที่นำมาถามจึงต้องมีความชัดเจนของสีจริง ไม่ใช้ระบบแฟลช จนเกิดสีเพี้ยน และจำต้องถ่ายออกมาในมุมต่างๆที่ชัดเจนโดยเฉพาะกลุ่มขมิ้น จำต้องถ่ายฟอร์มหัวสมบูรณ์ และเนื้อในหัวด้วย ไม่ดูใบอย่างเดียวนะครับ ว่านกลุ่มขมิ้นใครดู… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่