การใช้ว่านทางปฏิบัติ ในมุมมิติศาตร์โบราณอันลึกซึ้ง ตอนที่ ๒

๒.)การกินว่าน โดยทั่วไปว่านกบิลว่าน สามารถกินได้ทันที โดยใช้บทคาถาเสกประกอบตามตำรา ตามแต่ชนิดของว่าน บางชนิดต้องรอฤกษ์ยาม(เช่นว่านมหาเมฆต้องรอวันที่มีคราสฯลฯ) อย่างไรก็ดี ต้องศึกษาว่าว่านชนิดใดที่มีโทษข้างเคียง เช่น มีผลึกรูปเข็ม(calcium oxalate) ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ ว่านประเภทนี้ต้องป้องกันไม่ให้ว่านสัมผัสกับปากและลำคอโดยตรง อาจทำโดยใช้กล้วยน้ำว้าหรือมะขามเปียกในการช่วยกลืน  บ้างก็ใช้เหล้าเป็นกระสาย นี่เป็นหลักทั่วไปในการกินว่าน    อ.ชุม ไชยคีรี ผู้ที่ข้าฯกล่าวถึงมาแล้ว ท่านค้นคว้าแ… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

การใช้ว่านในทางปฎิบัติ ในมุมมิติศาตร์โบราณอันลึกซึ้ง ตอนที่ ๑

การใช้ว่านในทางปฎิบัติ เรื่องสำคัญที่สุดอีกเรื่องของการเล่นว่าน คือการนำว่าน มาใช้ให้เกิดผลตามตำรา เพราะถ้าเราเลี้ยงว่าน “อย่างว่าน” เราย่อมต้องการ “สรรพคุณอย่างว่าน” เช่นกัน แต่ดูเหมือนว่าผู้ที่จะใช้ว่านอย่างเป็นล่ำเป็นสันนั้นคงมีแต่นักไสยศาสตร์เป็นหลัก ข้าฯไม่อยากชักจูงให้ใครมาเป็น นักไสยศาสตร์ เพราะถ้าศึกษาไสยศาสตร์แต่กระพี้ ก็จะเป็นเดรัจฉานวิชาหรือขวางพระนิพพานไปเสียเปล่า   “นักปราชญ์ย่อมกินมังคุดแต่เนื้อใน” ไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์ย่อมไม่อาจมีเพียงแก่นได้  ไสยศาสตร์แบบพุทธถูกหล่อหลอมโดยปรัชญาพุทธ … อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านแท้-ว่านปลอม และว่านนอกกบิลว่าน (ตอนที่ ๓ ตอนจบ)

๗. ว่าน แท้จริงคือตำแหน่งของพืช ที่เหนือกว่าพืชทั้งหลาย เหมือน นายร้อย นายพัน นายพล พระยา หรือเจ้าพระยา คุณหญิง ฯลฯ ซึ่งเดิมทีก็มาจากคนธรรมดาที่ประกอบด้วยความดีความชอบแล้วได้เลื่อนชั้นยศ ว่านเองก็เช่นกัน หากยาหรือพืชตัวใดมีความโดดเด่นมากๆ ก็จะถูกเรียกหรือตีค่าเป็น “ว่าน” ขึ้นมา (ซึ่งยังมีอีกคำที่ใช้เรียกพืชพิเศษคือ “ปู่เจ้า” ส่วนมากมักใช้เรียกต้นยาที่มีความพิเศษ ซึ่งมีบางต้นที่เป็นว่านด้วย เช่น ปู่เจ้าสมิงไพร เป็นต้น) ความเหนือของว่านนั้นอาจเหนือด้วย         ๗.๑.โดดเด่นสารเคมี (สรรพค… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ข้อแนะนำในการศึกษาเรื่องว่านไทย และความศักดิ์สิทธิ์ของว่าน ตอนที่ ๒ (ตอนจบ)

๓. ดินฟ้าอากาศ เรื่องนี้เป็นทฤษฎีว่านสมัยใหม่   ทฤษฎีนี้พิจารณาแล้วเป็นองค์ความรู้มาจาก วิชาฮวงจุ้ย  ของจีน ว่าด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างลมและน้ำ (ตีความอย่างให้เห็นภาพพจน์) พูดง่ายๆคือ ปฎิสัมพันธ์เรื่องธาตุในความคิดแบบจีน ผสมความรู้ทางชัยภูมิ การเกิดความศักดิสิทธิ์ของว่านตามทฤษฎีนี้ ถ้าจะมองให้เห็นภาพลักษณ์ ก็ต้องจินตนาการของการเกิด “ซุนหงอคง”  พระยาวานรที่กำเนิดจาก ศิลา ที่ซึมซับพลังงาน ตามความสัมพันธ์ของธาตุแบบฮวงจุ้ย  จึงบังเกิดชีวิตและจิตวิญญาณขึ้น ฟังดูเหมือนนิทานเรื่องกำเนิดมนุษย์  ที่อาภัสรพ… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ข้อแนะนำในการศึกษาเรื่องว่านไทย และความศักดิ์สิทธิ์ของว่าน ตอนที่ ๑

ข้อแนะนำในการศึกษาเรื่องว่านไทย ๑.) การศึกษาเรื่องว่านคือการตีความตามคำบรรยายลักษณะของว่านในตำรา เพื่อค้นหาต้นว่านจริง  ดังนั้นการศึกษาเรื่องว่านตามตำราที่พิมพ์ขึ้นใหม่ ต้องดูรูปถ่ายว่านอย่างระมัดระวัง เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าผู้เขียนตีความถูกต้องหรือไม่  หรือ ตีความอย่างมีอคติหรือไม่ ตำราว่านโบราณเป็นเพียงคำบรรยายด้วยตัวอักษรเท่านั้น  ไม่มีรูปประกอบแต่อย่างไร  เราจึงต้องเน้นตีความตามตัวอักษรเป็นหลัก ๒.) ว่านตามกบิลว่านเป็นว่านหลักที่เล่นกันในวงการเท่านั้น  แท้จริงแล้วยังมี “ว่านนอกกบิลว่าน”อีกมา… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่