ว่านสาวหลง ว่านที่ตีค่าเท่าแสนตำลึงทอง

เมื่อกล่าวถึงว่านที่ใช้ในทางเมตตา โดยเฉพาะในเชิงชู้สาว คงไม่มีนักเลงว่านทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่คนไหนไม่เคยได้ยินชื่อ “ว่านสาวหลง” กันนะครับ วันนี้เราจะมาแกะตำราโบราณที่กล่าวถึงว่านตัวนี้กัน ว่านสาวหลงนี้มีกล่าวในตำราว่านโบราณหลายเล่ม ได้แก่ ตำรากบิลว่าน และต้นยาวิเศษนานาชนิด : พยอม วิไลรัตน์ หน้า ๑๓๖-๑๓๘ ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์ : อาจารย์ชั้น หาวิธี หน้า ๑-๒ ตำราคุณลักษณะว่าน และ วิธีปลูกว่าน : นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ หน้า ๓๘๙-๓๙๐ กบิลว่าน ๑๐๘ : สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร หน้า ๔๗ ว่านสาวห… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านกลุ่ม Eucharis grandiflora (กวัก. และมหาโชค) (ตอนที่ ๒ ตอนจบ)

๓) “กวักพุทธเจ้าหลวง” มีกล่าวในตำราเก่า ได้แก่ “ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์” โดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น หน้า ๑-๒ “กบิลว่าน ๑๐๘” โดย สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร หน้า ๑๑ กล่าวลักษณะโดยรวมคือ ต้น ก้าน ใบ คล้ายกวักนางพญามหาเศรษฐี แต่ใบจะย่นๆ บิดๆ พื้นใบไม่เรียบ ปลายใบงุ้มเหมือนปากนก พื้นใบมีสีเขียวๆเหลืองๆ ก้านดอกมีลายเขียวๆเหลืองๆทั่วก้าน ดอกมีสีขาวมีกลีบ ๖ กลีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ว่านนี้เชื่อกันว่าเป็นว่านที่ดีกว่าว่านกวักทั้งหลาย ทำให้เกิดเมตตามหานิยม โชคลาภ คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติต่างๆ เป็นว่านที่… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านกลุ่ม Eucharis grandiflora (กวัก. และมหาโชค) (ตอนที่ ๑)

ว่านที่จัดเป็นไม้ใบ หรือไม้ประดับที่เล่นกันในยุคหลังๆแล้วนั้นมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจและมักจะมีการเล่นหาสลับชื่อกันบ้าง สลับต้นกันบ้าง ด้วยลักษณะทางภายนอกที่ยากแก่การแยกแยะ เว้นแต่ผู้นั้นจะมีครบทุกต้นแล้วปลูกเทียบดู(พร้อมทำป้ายให้ชัดเจน) ก็พอจะเกิดความชำนาญในการแยกแยะได้ แต่อย่างไรว่านกลุ่มนี้ที่แนะนำอย่างยิ่งคือจะขาดป้ายไม่ได้ เพราะบางคราวบางจังหวะเขาจะหน้าตาเหมือนๆกันเอามากๆ จนบางทีเจ้าของเองอาจจะงงเอาได้ ว่านตัวนี้ในทางพฤกษศาสตร์จัดว่าเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด หลักการเดียวกับพริก ไม่ว่าจะเป็น… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านที่เรียกว่าไพล (ตอนที่ ๓ ตอนจบ)

๗. ว่านไพรชมพู(๖) ลักษณะลำต้นใบเหมือนไพรธรรมดา หัวเนื้อในสีชมพู กลิ่นฉุนน้อยกว่าไพรธรรมดา สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ พืชชนิดนี้เป็นพืชตระกูลไพล ผิดแต่ว่าสีเนื้อในหัวเป็นสีชมพู ที่แพร่หลายทั่วไปเป็นแบบหัวสีชมพูอ่อนๆ พบว่ายังมีอีกต้นที่เนื้อในหัวมีสีชมพูเข้มซึ่งหาได้ยากกว่า เรียกแยกไปว่า “ไพลแดง” ครับ ๘. ว่านไพรป่า(๖) ลักษณะลำต้น ใบ เล็กกว่าไพลธรรมดา หัวเล็กกว่า เนื้อในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัดกว่าไพลธรรมดา เมื่อหักหัวออกจะมีน้ำของหัวซึมออกมามากกกว่าหัวไพลธรรมดา สรรพคุณเป็นแบบพืชพวกไพลคือใช้หัวทุบพอแ… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่

ว่านที่เรียกว่าไพล (ตอนที่ ๒)

๔. ว่านไพลขาวไพลดำ(๒) ต้นนี้ตรงกับต้นในตำรา ของ พยอม วิไลรัตน์ ในสำนวนนั้นระบุว่า เป็นได้ทั้งสองต้นขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในการปลูก คือเป็นได้ทั้งไพลขาว และไพลดำ ภายหลังพบว่าต้นนี้มีอยู่จริง เป็นชนิดที่ถ้าย้ายสถานที่ปลูกแล้ว ต้นจะกลายไปจนชนิดว่าอาจเข้าใจผิดว่าเป็นคนละต้นกันเลยทีเดียว จากที่ปลูกในที่แห้งกลางแดดสีต้นสีเนื้อในหัวจะเป็นสีขาว เมื่อย้ายไปปลูกในที่ร่ม ที่มีความชุ่มชื้นสูง ทั้งต้นและหัวจะเป็นสีคล้ำดำจนเห็นได้ชัด และเพื่อป้องกันการสับสนจะขอเรียกแยกต้นไปเลยว่า “ว่านไพลขาวไพลดำ” ต้นนี้ทางพฤ… อ่านต่อ คลิ๊กที่นี่